5/19/2554

วีตกราส (ต้นข้าวสาลีอ่อน) เป็นแหล่งคลอโรฟิลที่สมบูรณ์ที่สุด

คลอโรฟิลที่ได้จากการคั้นน้ำจากต้นข้าวสาลีอ่อนจะมีปริมาณสูงถึง 70% นายแพทย์ ยอร์จ โคลเล่อ ได้บรรยายต่อที่ประชุม วิชาการแพทย์ว่าในอนาคตมนุษย์เราจะพยายามขวนขวายหาพลังสุริยะ จากพืชเพื่อนำมาฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย 


น้ำคั้นจากต้นข้าวสาลี อุดมไปด้วยสารคลอโรฟิลสดๆ และสามารถนำมาดื่มได้อย่างปลอดภัย หรืออาจนำไปรับประทานในรูปอื่น ๆ โดยไม่ต้องกังวล ว่าจะมีผลร้ายต่อร่างกาย กล่าวกันว่า คลอโรฟิล เปรียบเสมือนเลือดหล่อเลี้ยงชีวิตต้นพืช โมเลกุลของคลอโรฟิลมีความคล้ายคลึง กับโมเลกุลของเม็ดเลือดแดงของมนุษย์ คลอโรฟิล เป็นต้นกำเนิดของชีวิตพืชทั้งมวล 

คลอโรฟิล เป็นน้ำหล่อเลี้ยงที่เปี่ยมไปด้วยพลังสุริยะ 

คลอโรฟิล เป็นยาขนานวิเศษที่ธรรมชาติประทานให้มาเพื่อช่วยบำบัดอาการผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ทั้งภายใน และภายนอก 

คลอโรฟิล ให้ความอยู่รอดแก่ชีวิต เนื่องจากให้สารอาหารที่ เปี่ยมด้วยพลังแก่ร่างกายโดยที่ร่างกายไม่จำเป็นต้องสูญเสียพลังงานในการรับ สารอาหารวิเศษนี้มา 

คลอโรฟิล ดูดซับพลังงานจากแสงอาทิตย์เพื่อนำมาสร้างน้ำตาล แป้งและโปรตีน 

วงการวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์แล้วว่า คลอโรฟิล ไม่เพียงแต่ไปหยุดยั้งการเจริญเติบโตระงับการแพร่ของเชื้อแบคทีเรียเท่านั้นแต่ยังมีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับเม็ดเลือดแดงในร่างกายมนุษย์อีกด้วย 

จากการศึกษาทดลองที่ได้ทำขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1911 ได้พบว่าคลอโรฟิลมีสูตรโครงสร้างทางเคมีคล้ายคลึงกับโครงสร้างของฮีโมโกลบินที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง สิ่งที่แตกต่างกัน เพียงอย่างเดียวก็คืออะตอมของธาตุที่ประกอบเป็นสารฮีโมโกลบิน นั้นคือธาตุเหล็ก ส่วนในคลอโรฟิล นั้นเป็นธาตุแมกนีเซียม 

โมเลกุลของฮิมินในเม็ดเลือดแดง โมเลกุลของคลอโรฟิล 

คลอโรฟิลจากวีตกราส (ต้นข้าวสาลี) ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงจากการศึกษาทดลองในสัตว์ทดลองหลายชนิด ได้พบว่า คลอโรฟิล ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ ต่อ ร่างกายมนุษย์ทั้งสิ้น เมื่อรับประทานคลอโรฟิลเข้าไปเพียง 4-5 วันติดต่อกัน ปริมาณเม็ดเลือดแดงที่สูญเสียไปจะกลับคืนสู่ระดับปกติ หรือ แม้แต่ในสัตว์ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีอาการของโลหิตจาง หรือมีปริมาณเม็ดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ 

ในการทดลองในห้องทดลองที่ได้ทำกันอย่างกว้างขวางได้ชี้ให้เห็นว่าเมื่อร่างกายได้รับสารคลอโรฟิลเข้าไป การทำงานของเซลล์เนื้อเยื่อ และการฟื้นคืนสภาพของเซลล์ จะเป็นไปอย่างแข็งขันและเร็วขึ้น 

คลอโรฟิลไม่ว่าจะอยู่ในรูปของน้ำคั้นชนิดขี้ผึ้งหรือผงจะมีสรรพคุณอย่างน่าทึ่งในการใช้รักษาแผลติดเชื้อเรื้อรังหรือแผลพุพองโดยจะออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโต และการแพร่ขยายของเชื้อแบคทีเรียทันที 

คลอโรฟิล (ที่ได้จากต้นข้าวสาลี) จะก่อให้เกิดสภาวะที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย มากกว่าที่จะออกฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรียโดยตรง 

น้ำคั้นคลอโรฟิล ได้มาจากพืชหลายชนิดด้วยกัน แต่น้ำที่คั้นจากวีตกราสได้รับความนิยมมากกว่าพืชชนิดอื่นๆ เพราะว่าให้สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่า 

คลอโรฟิล รักษาอาการป่วยเรื้อรังต่างๆ อย่างได้ผล 

คลอโรฟิล ถูกดูดซึมเข้าไปในเซลล์เม็ดเลือดได้ทันที 

น้ำคั้นคลอโรฟิลจะซึมผ่านเข้าไปในเนื้อเยื่อช่วยฟอกเลือดให้บริสุทธิ์และช่วยฟื้นฟูเซลล์ให้กลับสู่สภาพปกติสมบูรณ์ได้อย่างรวดเร็ว 

น้ำคั้นคลอโรฟิล จะช่วยชำระล้างสารของยาที่ตกค้างอยู่ในร่างกายออก 

คลอโรฟิล ช่วยต้านฤทธิ์สารพิษที่รับประทานเข้าไปในร่างกาย คลอโรฟิล ช่วยชำระล้างตับให้ปราศจากพิษ และทำให้ตับทำงานได้อย่างแข็งขันตามปกติ 

คลอโรฟิล ช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น 

ดร.ซิว นันไล แห่งศูนย์ระบบมะเร็งในมหาวิทยาลัยเท็กซัสได้ทดลองพบว่าคลอโรฟิลซึ่งเป็นสารสำคัญในน้ำคลอโรฟิลคั้นจาก ต้นข้าวสาลีอ่อนจะช่วยต้านฤทธิ์ของสารก่อมะเร็ง 

ในปี ค.ศ. 1940 น.พ.เบนจามิน กรัสคิม ได้เขียนยกย่องสรรพคุณของวีตกาสไว้ในวารสารศัลกรรมศาสตร์ของอเมริกันว่ามีคุณสมบัติทางฆ่าเชื้อโรคและมีคุณประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายในการรักษาอาการต่างๆ เช่น ระงับกลิ่นตัว ต่อต้านอาการติดเชื้อต่างๆ ที่เกิดจากเชื้อสเตรปโตคอคคัส รักษาแผลรวมทั้งไปสมานแผลให้หาย เป็นปกติเร็วขึ้น 

คลอโรฟิลใช้รักษาอาการโพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง และรักษามะเร็งส่วนขา ลดอาการโป่งพองของเส้นเลือดดำ รักษาอาการอักเสบเรื้อรังและอาการติดเชื้อในช่องหูส่วนใน ใช้ในการรักษาแผลพุพองและตุ่มต่างๆ บริเวณทวารหนัก อาการติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด ลดอาการของไข้ไทฟอยด์ และรักษาโรคเหงือกอักเสบในระยะลุกลาม 

โภชนากรเบอร์นาร์ด แจนเซ่น ได้ยกย่องสรรพคุณของคลอโรฟิลว่าสารช่วยย่อยในคลอโรฟิลเป็นตัวนำแม่เหล็กและประจุไฟฟ้า ทำให้ดูดซึมเข้าไปในร่างกายได้รวดเร็ว และร่างกายแทบจะไม่ต้องสูญเสียพลังงานใด ๆ ในการนี้เลย ขณะที่ตามปกติร่างกายจะต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมง ๆ ในการย่อยอาหารแข็งซึ่งใช้พลังงานไปใม่ใช่น้อยทีเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น